ประวัติ ของ ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ

พล.อ.ปรีชา เมื่อรับราชการ ได้ชื่อว่าเป็นนายทหารนักรบ ผ่านสมรภูมิต่าง ๆ มากมาย จนได้เงินเพิ่มสู้รบมากถึง 16 ขั้น ซึ่งนับว่ามากที่สุดในกองทัพไทย

เคยเป็นรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก และเป็นที่ปรึกษาของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในฐานะหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการในขณะที่ พล.อ.ชาติชาย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2534

เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ได้ผันตัวเองเข้าทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมและเผยแผ่พุทธศาสนา โดยเป็นที่ปรึกษาและรองประธานศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือที่นิยมเรียกว่า "ศูนย์คุณธรรม" ซึ่งตั้งขึ้นโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2547 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตนายทหารเพื่อนร่วมรุ่นเป็นประธาน นอกจากนี้ ยังเป็นกรรมการและที่ปรึกษาการจัดงานวันวิสาขบูชาโลกในปี พ.ศ. 2550

หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีชื่อรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแบบสรรหาด้วย ในฐานะข้าราชการบำนาญของกระทรวงกลาโหม แต่ไม่ได้รับการรับเลือก[2]

เข้าร่วมกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยได้ขึ้นเวทีปราศรัยอย่างโดดเด่น เพราะมักปราศรัยด้วยวาทะและท่าทีที่ดุเดือด

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางจุฑามณี เอี่ยมสุพรรณ ซึ่งเป็นอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 8 คน[1]

ประวัติรับราชการ

  • พ.ศ. 2503 ประจำศูนย์การทหารปืนใหญ่
  • พ.ศ. 2503 ผู้บังคับหมวด กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2504 ผู้ช่วยนายทหารฝ่ายยุทธการ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2506 รองผู้บังคับกองร้อย กองร้อยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2509 ผู้บังคับกองร้อย กองร้อยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
  • พ.ศ. 2509 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
  • พ.ศ. 2511 ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธการอากาศ กองพลทหารอาสาสมัคร
  • พ.ศ. 2513 หัวหน้าฝ่ายกำลังพล กองพลทหารราบที่ 3
  • พ.ศ. 2515 หัวหน้าแผนก กรมกำลังพลทหารบก
  • พ.ศ. 2516 นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กรมกำลังพลทหารบก
  • พ.ศ. 2516 หัวหน้าฝ่ายข่าวกรอง กองพลทหารราบที่ 9
  • พ.ศ. 2520 รองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 9
  • พ.ศ. 2524 เสนาธิการกองพลทหารราบที่ 9
  • พ.ศ. 2527 รองเสนาธิการ กรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2528 เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2532 รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2534 หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2538 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ

  • พ.ศ. 2508 ปฏิบัติราชการพิเศษในการยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์
  • พ.ศ. 2512 ปฏิบัติราชการร่วมรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม
  • พ.ศ. 2514 ปฏิบัติราชการพิเศษในประเทศลาว
  • พ.ศ. 2519 ปฏิบัติราชการปรามปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
  • พ.ศ. 2524 ปฏิบัติราชการตามแผนป้องกันประเทศของกองทัพบก
  • พ.ศ. 2529 ราชองครักษ์เวร[3][4][5]

เสียชีวิต 6 ธันวาคม 2562

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://accomthailand.wordpress.com/2008/07/26/%E2%... http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublic... http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=4... http://www.thairath.co.th/content/422825 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2511/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/...